ราชวงศ์เลโอนิด (ค.ศ. 457 - 518) ของ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

ดูเพิ่มเติมที่: ราชวงศ์เลโอนิด
พระนามรัชกาล
ระยะเวลาครองราชย์
พระประวัติ
จักรพรรดิเลโอที่ 1 "เดอะทราเชียน"
Leo I "the Thracian"
(ภาษากรีก:Λέων Α' ὁ Θρᾷξ, ὁ Μακέλλης, ὁ Μέγας, ภาษาละติน: Flavius Valerius Leo)
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 457 –
18 มกราคม ค.ศ. 474
(16 ปี 345 วัน)
ประสูติที่ดาเซียราวค.ศ. 400 และทรงมีต้นกำเนิดเป็นชาวเบสเซียน เลโอทรงมาจากทหารระดับล่างและทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาทหารชาวกอท แอสปาร์ ผู้ซึ่งเลือกพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิหลังจากการสวรรคตของจักรพรรดิมาร์เชียน พระองค์ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์แรกที่ได้รับการสวมมงกุฎจากอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล รัชสมัยของพระองค์เป็นที่จดจำถึงความสงบที่ชายแดนดานูบและสันติภาพกับเปอร์เซีย ซึ่งทำให้พระองค์สามารถเข้าแทรกแซงกิจการในจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยการสนับสนุนผู้มีสิทธิในราชบัลลังก์ และทรงดำเนินการขยายดินแดนในสมรภูมิแคปบอนเพื่อฟื้นฟูคาร์เธจจากชาวแวนดัลในปีค.ศ. 468 ในช่วงแรกทรงเป็นประมุขหุ่นเชิดของแอสปาร์ จักรพรรดิเลโอทรงเริ่มต้นส่งเสริมชาวอิซอเรียเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับชาวกอทของแอสปาร์ ด้วยการจัดการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าหญิงเอเรียดเน พระธิดากับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ ทาราซิโกดิสซา (จักรพรรดิเซโน) ด้วยการสนับสนุนจากชาวอิซอเรียน ในปีค.ศ. 471 แอสปาร์ถูกลอบสังหารและอำนาจของชาวกอทเหนือกองทัพก็สูญสิ้นไปด้วย[8]
จักรพรรดิเลโอที่ 2 "เดอะลิตเติ้ล"
Leo II "the Little"
(ภาษากรีก:Λέων Β' ὁ Μικρός, ภาษาละติน: Flavius Leo)
18 มกราคม ค.ศ. 474 –
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474
(0 ปี 303 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 467 เป็นพระราชนัดดาในจักรพรรดิเลโอที่ 1 ผ่านทางพระราชธิดาคือเจ้าหญิงเอเรียดเนกับผู้นำชาวอิซอเรียนคือ เซโน ทรงถูกเลี้ยงดูในฐานะ ซีซาร์ และดำรงเป็นจักรพรรดิร่วมในฤดูใบไม้ร่วง ค.ศ. 473 หลังจากทรงครองราชย์เป็นจักรพรรดิเลโอที่ 2 พระองค์ได้สถาปนาพระราชบิดา เซโน ขึ้นเป็นจักรพรรดิร่วมและดำรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จักรพรรดิทรงสวรรคตหลังจากนั้นเพียงสั้นๆ มีความเป็นไปได้ว่าทรงถูกลอบวางยาพิษ[9]
จักรพรรดิเซโน
Zeno
(ภาษากรีก:Ζήνων, ภาษาละติน: Flavius Zeno)
17 พฤศจิกายน ค.ศ. 474 –
9 เมษายน ค.ศ. 491
(16 ปี 143 วัน)
ประสูติราวค.ศ. 425 ที่อิซอเรีย ทรงมีพระนามเดิมว่า ทาราซิโกดิสซา ในฐานะที่ทรงเป็นผู้นำกองทัพอิซอเรียนของจักรพรรดิเลโอที่ 1 ทรงก้าวขึ้นมาเป็นโดเมสติคัส อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเอเรียดเน พระราชธิดาในจักรพรรดิและทรงรับพระนาม เซโน มาใช้ และมีบทบาทสำคัญในการกำจัดแอสปาร์และกองทัพชาวกอทของเขา พระองค์ได้รับการแต่งตั้งเป็นจักรพรรดิร่วมกับพระโอรสในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 474 และทรงเป็นประมุขแต่เพียงผู้เดียวหลังจากพระโอรสสวรรคต แต่ทรงต้องหลบหนีไปยังดินแดนของพระองค์ในปีค.ศ. 475 เพราะการกบฏ ก่อนที่บาซิลิสคัสจะสามารถยึดครองเมืองหลวงได้ในปีค.ศ. 476 จักรพรรดิเซโนทรงสร้างสันติภาพกับชาวแวนดัล ทรงเผชิญกับการต่อต้านของนายพลอิลลัสและสมเด็จพระพันปีหลวงเวรีนา และทรงสร้างความสงบสุขในบอลข่านโดยทรงชักจูงให้ชาวออสโตรกอทภายใต้พระเจ้าธีโอดอริคมหาราชให้อพยพไปยังอิตาลี รัชสมัยของจักรพรรดิเซโนทรงพบกับจุดจบของจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก ด้วยท่าทางที่ทรงเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวทำให้พระองค์ไม่ทรงเป็นที่นิยมชมชอบ และคำประกาศแห่งเฮโนติคอนของพระองค์ส่งผลให้เกิดความแตกแยกอะคาเชียนกับพระสันตะปาปา[10]
จักรพรรดิบาซิลิสคัส
Basiliscus
(ภาษากรีก:Βασιλίσκος, ภาษาละติน: Flavius Basiliscus)
9 มกราคม ค.ศ. 475 –
สิงหาคม ค.ศ. 476
(1 ปี 204 วัน)
เป็นนายพลและเป็นพระเทวันในจักรพรรดิเลโอที่ 1 พระองค์ได้ยึดอำนาจจากจักรพรรดิเซโนแต่พระองค์ก็ถูกโค่นล้มบัลลังก์โดยจักรพรรดิเซโนเช่นกัน พระองค์สวรรคตในปีค.ศ. 476/477
จักรพรรดิอนาสตาซิออสที่ 1 ไดคอรัส
Anastasius I Dicorus
(ภาษากรีก:Ἀναστάσιος Α' ὁ Δίκορος, ภาษาละติน: Flavius Anastasius)
11 เมษายน ค.ศ. 491 –
9 กรกฎาคม ค.ศ. 518
(27 ปี 89 วัน)
ประสูติราวปีค.ศ. 430 ที่ไดร์ราเคียม พระองค์เป็นเจ้ากรมการวัง (ไซเลนทิอาริอัส) เมื่อพระองค์ได้ถูกเลือกโดยสมเด็จพระพันปีหลวงเอเรียดเนให้เป็นสวามีและต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิ พระองค์มักถูกเรียกว่า "ไดคอรอส" (Dikoros, ภาษาละติน: Dicorus) เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นโรคตาสองสี จักรพรรดิอนาสตาซิออสทรงปฏิรูปภาษีและระบบเงินเหรียญไบแซนไทน์และมีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นพระประมุขที่มัธยัสถ์ ดังนั้นในช่วงปลายรัชกาลพระองค์ได้สร้างความมั่งคั่งอย่างมาก การที่ทรงมีความเห็นพระทัยเชื่อมั่นว่าพระเจ้ามีลักษณะเดียวได้นำไปสู่การต่อต้านในวงกว้าง ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือการกบฏของวิทาเลียนและความแตกแยกอะคาเชียน รัชสมัยของพระองค์เป็นจุดเริ่มต้นของชนบัลการ์ซึ่งเข้าไปรุกรานบอลข่านครั้งแรก และเกิดสงครามกับเปอร์เซียในการก่อตั้งเมืองดารา พระองค์สวรรคตโดยไม่มีทายาท[11]

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา